เทคนิค วิธีการลดภาวะเสี่ยง
วันที่: 2012-09-04 13:59:14.0
เทคนิควิธีการที่ 1
- ห้ามรถยกโฟล์คลิฟท์เข้าพื้นที่ หรือ ปฏิเสธการใช้โฟล์คลิฟท์
- ออกแบบทางเดิน หรือ ห้ามพนักงานเข้าไปในพื้นที่การทำงาน
เทคนิควิธีการที่ 2
- ใช้จักรกลขนถ่ายอื่นที่เหมาะสมกับลักษณะงานมากกว่า แทนการใช้รถโฟล์คลิฟท์
- กระบวนการทำงานที่เปลี่ยนไป อาจเกิดอันตรายที่แตกต่างไป
เทคนิควิธีการที่ 3
- ศึกษาและปรับเปลี่ยนทางเดินภายในหน่วยงาน
- ต้องควบคุมไม่ให้รถยกโฟล์คลิฟท์เข้าไปในพื้นที่ทำงานของคนบนพื้นที่ทางเท้า
- ปิดกั้น แบ่งแยกการทำงานระหว่างคนกับรถยกโฟล์คลิฟท์
- สำหรับงานครั้งคราว ต้องปิดกั้นพื้นที่ชั่วคราว
- บริหารจัดการเส้นทางการทำงานรถยกโฟล์คลิฟท์ให้เป็นระบบ
- ใช้รั้วแข็งปิดกั้นระหว่างพื้นที่ทำงานของรถโฟล์คลิฟท์กับทางเท้า
- ออกแบบพื้นที่ของหน่วยงานให้แยกออกจากกัน
- ออกแบบและแสดงพื้นที่ทำงานของรถยกโฟล์คลิฟท์
เทคนิควิธีการที่ 4
- ทาสีทางข้ามด้วยสีโทนสว่าง
- รถยกโฟล์คลิฟท์ต้องถูกรักษาสภาพตามข้อกำหนด
- ตัวรถยกโฟล์คลิฟท์ต้องเป็นโทนสว่างมีสัญญาณไฟกระพริ๊บและเสียงเตือน
- ติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบคุมเป็นกระจก
- จัดทำทางเดิน ติดตั้งรั้วแข็ง ประตูแผงป้องกันอันตราย ป้ายเตือนและอุปกรณ์ทาด้วยสีสว่าง
- พ่นแถบคาดเฉียงสลับสี เป็นสีที่แตกต่างกับตัวรถ เมื่อเข้าไปทำงานกับพื้นที่ที่สีคล้ายกันจะทำให้สังเกตุได้ง่ายไม่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
- ติดตั้งกระจกโค้ง หรือรั้วกั้นป้องกันอันครายที่มุมอับ
เทคนิควิธีการที่ 5
- ให้พนักงานขับรถยกโฟล์คลิฟท์ตรวจสอบสภาพก่อนใช้งาน
- ช่วงเช้าและเย็น หากแสงแดดส่องให้ปรับทิศทางการปฏิบัติงาน
- พนักงานขับรถยกโฟล์คลิฟท์ต้องผ่านการฝึกอบรม
- ให้ทำประเมินความเสี่ยงและการควบคุม
- การปฏิบัติงานต้องทำร่วมกันในพื้นที่เดียวกัน
- จัดทำเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน
- กำหนดให้ตรวจติดตามทางด้านความปลอดภัย
- กำหนดให้มีคณะกรรมการทำงานเพื่อศึกษาและพัฒนา
- ตรวจรักษาสภาพ ซ่อมบำรุงตามระยะเวลา
- กำหนดจุดจอดที่มองเห็นได้ชัดเจน
- ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่การทำงานของรถโฟล์คลิฟท์